เปิดจังหวัดแรก ที่โนโรไวรัส เข้ามาไทย ระบาดหนัก ไม่มีวัคซีนรักษา

ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โนโรไวรัส (Norovirus) ล่าสุดเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2567 นพ.ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย ได้เปิดเผยถึงชการระบาดของโนโรไวรัส ที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง ของนักเรียน ครู และบุคลากร 2 โรงเรียน ในอำเภอแกลง จังหวัดระยอง โดยพบผู้ป่วยรวม 1,436 ราย เป็นนักเรียน 1,418 ราย ครูและบุคลากร 18 ราย อันเกิดจากการติดเชื้อโนโรไวรัสที่ปนเปื้อนมากับ น้ำและน้ำแข็ง ที่บริโภคในช่วงสัปดาห์ของการจัดกิจกรรมกีฬาสี

โดย โนโรไวรัส มักจะแพร่ระบาดในกลุ่มเด็กที่มีภูมิต้านทานน้อยกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว พบบ่อยตามโรงเรียน ภัตตาคาร โรงพยาบาล สถานที่เลี้ยงเด็ก รวมไปถึงรถหรือเรือท่องเที่ยว

โนไวรัสเป็นโรคติดต่อจากคนสู่คน สามารถติดต่อได้ง่าย จากการสัมผัสทางอาหาร น้ำดื่ม อากาศ การสัมผัส และการหายใจ เช่น การสัมผัสผู้ป่วยที่ติดเชื้อโนโรไวรัสโดยตรง การสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้อโนโรไวรัส รวมถึงสภาพแวดล้อมไม่ถูกหลักสุขาภิบาล โดยโนโรไวรัสมีระยะฟักตัวสั้น 12-48 ชั่วโมงหลังการรับเชื้อ

อาการที่พบส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักมีอาการคลื่นไส้อาเจียนรุนแรง ปวดมวนท้อง ท้องเสีย มีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะและปวดเมื่อยตามร่างกาย

อาการรุนแรงในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ บางรายอาจทำให้มีอาการขาดน้ำ จึงควรดื่มน้ำเกลือแร่ เพื่อทดแทนการเสียน้ำและเกลือแร่

มาตรการป้องกันตนเองจากโรโนไวรัสตามคำแนะนำ มีดังนี้

รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ใช้ช้อนกลาง

ล้างผักและผลไม้ให้สะอาด

ล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่ก่อนและหลังทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

หลีกเลี่ยงดื่มน้ำที่ไม่สะอาด และหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำที่ไม่สะอาด

หน่วยงานและสถานประกอบกิจการควรมีมาตรการควบคุมป้องกัน ดังนี้

การเติมคลอรีนในถังพักน้ำดื่มและน้ำใช้

การตรวจประเมินคุณภาพน้ำใช้ น้ำดื่มอย่างต่อเนื่อง

จัดให้มีจุดล้างมือพร้อมสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ที่เพียงพอ

การให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพและส่งเสริมพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคลที่ดีสำหรับการป้องกันโรค